คําราชาศัพท์ที่ใช้กับพระสงฆ์
การที่มีคำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระสงฆ์ เพราะ พระ หรือ ภิกษุ ถือว่าเป็นบุคคลที่สืบทอดพระพุทธศาสนาทั้งพระธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อให้บรรดาพุทธศาสนิกชนปฏิบัติแต่ความดีละเว้นความชั่ว ให้หมู่คนมีความผาสุกด้วยธรรมะ เป็นผู้ที่ได้รับการเคารพนับถือจากบุคคลทั่วไป ดังนั้น จึงมีถ้อยคำสำหรับพระภิกษุกำหนดไว้โดยเฉพาะ ซึ่งนักเรียนควรสังเกตว่า คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระสงฆ์ มีการใช้ที่แตกต่างจากราชาศัพท์สำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือพระราชวงศ์ กล่าวคือ สำหรับพระภิกษุนั้นไม่ว่าบุคคลอื่นจะพูดกับท่าน หรือกล่าวถึงท่าน หรือเมื่อท่านพูดเองก็ตาม จะใช้ศัพท์อย่างเดียวกันตลอดไป เช่น คำว่า อาพาธ ฉันภัตตาหาร เป็นต้น
คําราชาศัพท์ที่ใช้กับพระสงฆ์
คำที่ใช้กับพระสงฆ์
คำสามัญ | ราชาศัพท์ |
คำพูดแทนตัวเอง | อาตมา |
พระสงฆ์ใช้เรียกพระเจ้าแผ่นดิน | มหาบพิตร |
คนทั่วไป | โยม |
ให้, มอบให้ | ถวาย |
ยื่นให้ระยะห่างหัตถบาส (ระยะระหว่างพระสงฆ์ที่นั่งทําสังฆกรรมหรือระหว่างพระภิกษุ สามเณร กับคฤหัสถ์ผู้ถวายของ ห่างกันไม่เกินศอกหนึ่ง) (หรือยื่นของให้พระ ของนั้นสามารถเข้าปากแล้วกลืนได้) | ประเคน |
อาหารเช้า | จังหัน |
กิน | ฉัน |
ขอเชิญพระ (เดิน, นั่ง, เขียนหนังสือ) | นิมนต์ |
ขอเชิญพระแสดงธรรม | กราบอาราธนาธรรม |
ไหว้ | นมัสการ |
ห่มจีวร | ครองจีวร |
ผ้าห่ม | ผ้าจีวร |
ผ้าพาดบ่า | สังฆาฏิ |
ผ้านุ่ง | สบง |
อาบน้ำ | สรงน้ำ |
โกนผม | ปลงผม |
นอน | จำวัด |
สวดมนต์ | ทำวัตร |
เงิน | ปัจจัย |
บวชเณร | บรรพชา |
บวชพระ | อุปสมบท |
ป่วย | อาพาธ |
ตาย | มรณภาพ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น