Halo Angel Wings Kaoani
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู Information and Communication Technology for Teachers

วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

โสนน้อยเรือนงาม

rvipas.jpg (691 bytes)โสนน้อยเรือนงาม rvipas.jpg (691 bytes)

              กษัตริย์นครโรมวิสัยมีพระราชธิดาที่สวยงามมาก พระราชธิดานี้เมื่อประสูติมีเรื่อนไม้เล็กๆ
ติดมือออกมาด้วย เรือนนี้เมื่อพระธิดาเจริญวัยขึ้น เรือนไม้นี้ก็โตขึ้นด้วยและกลายเป็นของเล่นของพระราชธิดา พระบิดาจึงตั้งชื่อพระราชธิดาว่า โสนน้อยเรือนงาม เมื่อโสนน้อยเรือนงามมีพระชนม์พรรษาได้สิบห้าพรรษา โหรทูลพระบิดาว่าโสนน้อยเรือนงามกำลังมีเคราะห์ ควรให้ออกไปจากเมืองเสีย เพราะจะต้องอภิเษกกับคนที่ตายแล้ว พระบิดาและพระมารดาก็จำใจให้โสนน้อยเรือนงามออกไปจากเมืองแต่ผู้เดียว โสนน้อยเรือนงามปลอมตัวเป็นชาวบ้านและเอาเครี่องทรงพระราชธิดาห่อไว้ พระอินทร์สงสารนางจึงแปลงร่างเป็นชีปะขาวมามอบยาวิเศษสำหรับรักษาคนตายให้ฟื้นได้ โสนน้อยเรือนงามเดินทางเข้าไปในป่าพบนางกุลาหญิงใจร้ายนอนตายเพราะถูกงูกัด โสนน้อยเรือนงามจึงนำยาของชีปะขาวมารักษา นางกุลาก็ฟื้น นางจึงขอเป็นทาสติดตามโสนน้อยเรือนงาม.
            

รายชื่อวรรณคดีไทย


รายชื่อวรรณคดีไทย

รายชื่อวรรณคดีของไทย ซึ่งเป็นงานเขียนหรือวรรณกรรมไทยที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์
วรรณคดีไทยเป็นผลงานที่ทรงคุณค่าทางวรรณศิลป์ เป็นผลงานเขียนที่เกิดขึ้นก่อนสมัยรัชกาลที่ 7

วรรณคดีไทย

ความหมายของวรรณคดี
        เนื่องจากมีการเข้าใจสับสนระหว่างคำว่า วรรณคดี กับวรรณกรรม อยู่เสมอ เนื่องจากทั้งสองคำ มาจากภาษาอังกฤษว่า Literature เช่นเดียวกัน สำหรับในภาษาไทยนั้นมีการใช้คำว่า "วรรณคดี" ก่อนภายหลังจึงได้เกิดมีคำว่า "วรรณกรรม" ขึ้น และจริง ๆ แล้ว ในอดีตก่อนปี พ.ศ. 2457 ไทยเรายังไม่มีคำว่า "วรรณคดี" ใช้ เราเรียกหนังสือวรรณคดีว่า "หนังสือ" (เช่นเรียกเรื่องท้าวบาเจืองหรือท้าวฮุ่งท้าวเจืองที่ทางเวียงจันทร์ส่งมาถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกว่า "หนังสือเจียง" หรือเรียกเรื่องมหาภารตะว่า "หนังสือมหาภารตะ" เป็นต้น) หรือเรียกโดยใช้ชื่อผู้แต่งกับชื่อลักษณะคำประพันธ์และประเภทของเนื้อหา (เช่น นิราศนรินทร์คำโคลงหรือนิราศพระยาตรัง เป็นต้น) หรือเรียกโดยใช้ชื่อลักษณะคำประพันธ์และเหตุการณ์หรือโอกาสที่ทำให้เกิดเรื่องนั้น ๆ ขึ้น (เช่น เพลงยางหรือกลอนนิราศรบพม่าที่ท่าดินแดง หรือโคลงนิราศเวียงจันทร์         พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเดชาดิศร เป็นต้น) (ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. 2541 : 15) และคำว่า "วรรณคดี" นี้รู้จักกันอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2450 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในโอกาสที่ทรงตั้ง "โบราณคดีสโมสร" ขึ้น วัตถุประสงค์ของสโมสรนี้ก็เพื่อส่งเสริมการประพันธ์ การศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดี งานที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับวรรณคดีคือ การพิมพ์เผยแพร่วรรณคดีโบราณ เช่น ลิลิตยวนพ่าย ทวาทศมาส และนิราศพระยาตรัง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการตรวจคัดหนังสือที่แต่งดี เพื่อรับพระบรมราชานุญาตประทับพระราชลัญจกรมังกรคาบแก้ว หนังสือใดที่โบราณคดีสโมสรนี้ประทับพระราชลัญจกรมังกรคาบแก้วก็ได้ชื่อว่าเป็น "วรรณคดี" ซึ่งในขณะนั้นถือว่าเป็น "หนังสือดี"
     

คำราชาศัพท์ (หมวดคำสุภาพ)


คำสุภาพ  คือ  คำที่ใช้กับสุภาพชนทั่วไป  เพื่อความเหมาะสมกับสถานภาพ 
เหตุการณ์และโอกาส

คำสามัญ

คำสุภาพ

หมู

สุกร

หมา
สุนัข
แมว
วิฬาร์
วัว
โค
ควาย
กระบือ
ลิง
วานร
ขี้ควาย
มูลกระบือ
ช้างสีดอ
ช้างนรการ
ช้างแม่แปรก
ช้างแม่หนัก
อีเก้ง
นางเก้ง
อีเห็น
นางเห็น
เต่า
จิตรจุล
ปลิง
ชัลลุกา
ปลาช่อน
ปลาหาง
ปลาสลิด
ปลาใบไม้
ลูกแตงโม
ผลอุลิด
กล้วยไข่
กล้วยเปลือกบาง
กล้วยกุ
กล้วยสั้น
หัวปลี
ปลีกล้วย
ฟักทอง
ฟักเหลือง

คำราชาศัพท์ (หมวดพระสงฆ์)


คําราชาศัพท์ที่ใช้กับพระสงฆ์

         การที่มีคำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระสงฆ์  เพราะ  พระ   หรือ  ภิกษุ ถือว่าเป็นบุคคลที่สืบทอดพระพุทธศาสนาทั้งพระธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อให้บรรดาพุทธศาสนิกชนปฏิบัติแต่ความดีละเว้นความชั่ว  ให้หมู่คนมีความผาสุกด้วยธรรมะ  เป็นผู้ที่ได้รับการเคารพนับถือจากบุคคลทั่วไป   ดังนั้น  จึงมีถ้อยคำสำหรับพระภิกษุกำหนดไว้โดยเฉพาะ  ซึ่งนักเรียนควรสังเกตว่า คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระสงฆ์  มีการใช้ที่แตกต่างจากราชาศัพท์สำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือพระราชวงศ์ กล่าวคือ  สำหรับพระภิกษุนั้นไม่ว่าบุคคลอื่นจะพูดกับท่าน หรือกล่าวถึงท่าน หรือเมื่อท่านพูดเองก็ตาม จะใช้ศัพท์อย่างเดียวกันตลอดไป เช่น คำว่า  อาพาธ  ฉันภัตตาหาร  เป็นต้น

คำราชาศัพท์

คําราชาศัพท์ ตามรูปศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์

แต่ในปัจจุบัน คำราชาศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำสุภาพ ไพเราะที่ใช้ให้เหมาะกับฐานะของบุคคลในสภาพสังคมไทย ซึ่งผู้ที่ต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วยมี ดังนี้


  1. พระมหากษัตริย์ 
  2. พระบรมวงศานุวงศ์ 
  3. พระภิกษุ 
  4. ขุนนางข้าราชการ 
  5. สุภาพชน
ที่มาของคำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์ นั้น มีที่มาอยู่ 2 อย่าง คือ
  1. รับมาจากภาษาอื่น ภาษาเขมร เช่น โปรด เขนย เสวย เสด็จ เป็นต้น ภาษาบาลี-สันสกฤต เช่น อาพาธ เนตร หัตถ์ โอรส  เป็นต้น
  2. การสร้างคำขึ้นใหม่ โดยการประสมคำ เช่น ลูกหลวงซับพระพักตร์ ตั้งเครื่อง เป็นต้น